หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1. หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา

หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา” (Portable Rescue Robot : PRR) โดยการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงและใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนสูง ด้วยน้ำหนักประมาณ 26 กิโลกรัม ผู้ใช้สามารถพกพาโดยการสะพายหลังหรือยกเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างคล่องตัว
ส่วนล้อเป็นตีนตะขาบสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระ และติดตั้งแขนกล 
แกนอิสระพลังสูง สามารถเคลื่อนย้าย สอดส่องวัตถุต้องสงสัย เปิดประตูรถยนต์ได้คล่องตัว อีกทั้งสามารติดตั้งปรับเลี่ยนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ ปืนตัดวงจรระเบิดด้วยแรงดันน้ำ
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ในตัวหุ่น เช่น ระบบควบคุมด้วยสัญญาณดิจิตอลที่ประมวลผลโดยไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบเชื่อมสายและไร้สาย กล้องความละเอียดสูงที่มีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและแสดงผลภาพอย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์วัดระยะ ไฟสปอตไลท์ความสว่างสูงสำหรับการใช้งานในกลางคืน พร้อมกล่องควบคุมที่ออกแบบให้พกพาง่าย ทนทาน และสามารถซ่อมบำรุงได้





2. หุ่นยนต์ขัดแยกขยะ

การคัดแยกขยะเป็นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และเพิ่มมูลค่า ช่วยรักษาโลกไม่ให้ร้อนเร็วจนเกินไป แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าคนคัดแยกต้องเสียอะไรบ้างเพื่อแลกกับรายได้เพียงเล็กน้อย เริ่มตั้งแต่ยอมเป็นประชากรชั้น 2 อยู่ในพื้นที่อากาศเสียวันละไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง เสี่ยงกับสารเคมี และต้องเพ่งมองของที่คนทั่วไปเรียกว่า "ขยะ" ตลอดเวลาทำงาน... นี่คือจุดกำเนิดของเจ้าหุ่นยนต์อัจฉริยะ "เซนโรโบติกส์" (ZenRobotics) ที่จะมาช่วยปลดแอกให้กับชนชั้น 2 ซึ่งเรามาเรียนรู้ที่มาของเจ้าหุ่นยนต์อัศจรรย์ตัวนี้กันดีกว่า





3. หุ่นยนต์ส่งของอัตโนิมัติ 

หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ และตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในอนาคต ในอดีตนวัตกรรมหุ่นยนต์เกิดขึ้นจากการพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (industrial robot) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก

เช่น หุ่นยนต์การผลิตรถยนต์ หุ่นยนต์แขนกลสำหรับประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น





Comments